วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ประเภทของแสตมป์
แสตมป์มีอยู่มากมายหลายรูปแบบอาจจะเอาไว้สำหรับการส่งพัสดุต่าง หรือการสะสม ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของแสตมป์ได้ดังนี้
1. แสตมป์ทั่วไป (CURRENT STAMP หรือ DEFINITIVE STAMP) เป็นแสตมป์ที่พิมพ์
จำหน่ายอยู่เป็นประจำ มีการพิมพ์เพิ่มเติมเพื่อให้มีเพียงพอในกิจการไปรษณีย์
ในรูปแบบของแสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลปัจจุบันและรูปแบบอื่นตามที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำขึ้น
2. แสตมป์ที่ระลึก (COMMEMORATIVE STAMP) เป็นแสตมป์ที่มีภาพสวยงามจัดพิมพ์เพื่อ
เป็นที่ระลึกเนื่องในวาระพิเศษ หรือเหตุการณ์และวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ที่ระลึกงานแสดงตราไปรษณียากรโลก
กรุงเทพฯ งานกาชาด วันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นต้น
3. แสตมป์พิเศษ (SPECIAL STAMP) เป็นแสตมป์ที่มีภาพสวยงามจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการเผย
แพร่และประชา สัมพันธ์สิ่งที่น่าสนใจของประเทศเป็นพิเศษ เช่น แสตมป์ชุดผลไม้ ชุดชีวิตสัตว์ ชุดดอกไม้ เป็นต้น
แสตมป์ที่ระลึกและแสตมป์พิเศษจะไม่มี การพิมพ์เพิ่มเติม
ที่มา stampshop.thport.com
กำเนิดแสตมป์ดวงแรกของโลก
เมื่อก่อนการส่งจดหมายให้มาถึงกันเป็นการยากและยั
งไม่มีระบบฝากส่งที่ดีเช่นในปัจจุบัน โดยที่อังกฤษได้นำเอาแบบอย่างการไปรษณีย์ฝรั่งเศสมาดำเนินการประยุกต์ใช้
แต่ไม่ประสบผลดีเท่าที่ควรและขาดทุน เนื่องจากในระยะเริ่มต้นนั้น ผู้ส่งจดหมายไม่ต้องเสียค่าฝากส่ง บุรุษไปรษณีย์จะนำจดหมายไปส่งให้
กับผู้รับและเรียกเก็บเงินจากผู้รับ จึงมีผู้หลีกเลี่ยงไม่ยอมจ่ายเงินค่ารับจดหมายเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ.2379 นายโร ว์แลนด์ ฮิลล์ ( Rowland Hill )
ชาวอังกฤษ ได้เสนอวิธีคิดค่าธรรมเนียมในการฝากส่ง โดยให้ถือน้ำหนักเป็นเกณฑ์ และกำหนดให้มีมาตรฐานต่อจดหมาย 1 ฉบับ ต่อ 1 เพนนี
นอกจากนี้ได้เสนอให้มีการจัดพิมพ์ตราไปรษณียากร หรือแสตมป์ ( Postage Stamp ) สำหรับให้ผู้ใช้บริการซื้อไว้เพื่อปิดผนึกบนห่อซองจดหมาย ณ บริเวณมุมบนด้านขวามือ เพื่อแสดงให้ทราบว่าจดหมายฉบับนั้นได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว
ที่มา stampshop.thport.com
อุปกรณ์การสะสมแสตมป์

โดยปกติแล้วผู้สนใจในการที่จะสะสมแสตมป์ มักจะคิดไปเองว่า การสะสมแสตมป์ คือ การนำแสตมป์มาสะสมในสมุดเก็บแสตมป์ และนำมาชื่นชมเพียงเท่านั้น และนั้นก็ถือว่าเป็นการสะสมแสตมป์แล้ว
แต่ถ้า เราจะพิจารณาให้ลึกซึ้ง จะเห็นว่า “แสตมป์” เมื่อเก็บไว้นานนับสิบปี หากมีสภาพสมบูรณ์จึงจะมีค่าและราคาสูงขึ้นตามลำดับ
ดังนั้น ผู้สนใจในแสตมป์ ที่มีความชำนาญในการสะสม จึงควรตระหนักว่า อุปกรณ์การสะสมที่เหมาะสมและการเก็บรักษามีบทบาทต่อการสะสมแสตมป์มากเพียงใด
ที่มา stampshop.thport.com
แนวทางในการสะสมแสตมป์
การสะสมแสตมป์โดยทั่วไปไม่มีหลักเกณฑ์สำหรับนักสะสม จึงสามารถเลือกแนวทางใน
การสะสมได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ดี เราขอเสนอแนะแนวทางในการสะสม เพื่อท่านจะได้สนุกกับการสะสมได้มากยิ่งขึ้น
นักสะสมเลือกที่จะสะสมแตกต่าง กัน ดังนี้
1. สะสมเฉพาะแสตมป์ไทย โดยเก็บสะสมทุกชุดเรียงลำดับตามวันที่ออกจำหน่าย
2. สะสมแสตมป์ไทยเป็นบางชุด เฉพาะที่ชื่นชอบโดยกำหนดหัวข้อหรือเรื่องราวที่ต้องการสะสม
เช่น นักสะสมบางท่านชอบสะสมชุดชีวิตสัตว์ พืชพันธุ์ไม้ ยานพาหนะขนส่ง หรือกีฬา บาง
ท่านชอบสะสมแสตมป์เกี่ยวกับห้วงอวกาศ สถาปัตยกรรม การแพทย์ และมีนักสะสมมากมาย
ชอบสะสมในหัวข้อบุคคลสำคัญ3. สะสมแสตมป์จากต่างประเทศทั่วโลก การสะสมในลักษณะนี้ นักสะสมควรกำหนดหัวข้อหรือ
เรื่องราวที่ต้องการสะสมเช่นเดียวกัน การสะสมเป็นเรื่องเป็นราวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การสะสม
แบบ “THEMATIC”4. สะสมทั้งแสตมป์ไทยและแสตมป์ต่างประเทศ เมื่อท่านเลือกแนวทางในการสะสมแล้ว ควรตัดสินใจด้วยว่า จะสะสมเพียง 1 ชุด หรือหลายชุด กรณีเก็บสะสมเพียงชุดเดียว จะทำให้ท่านไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับเพื่อนฝูงได้ บางท่านสะสมแบบบล็อก 4 ซึ่งหมายถึง การสะสมแสตมป์ 4 ดวงติดกันและมีหลายท่านเก็บสะสมชุดละ 10 ดวงติดกันหรือทั้งแผ่น ซึ่งการเก็บสะสมในลักษณะดังกล่าวมาแล้วนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของท่าน เป็นประการสำคัญ
ที่มา stampshop.thport.com
แสตมป์โสฬส
แสตมป์โสฬส
แสตมป์โสฬส แสตมป์ดวงแรกของไทย พิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2426 โดยที่บริษัท WATERLOW AND SONS LTD ประเทศอังกฤษเป็นผู้ผลิต ชุดโสฬส มีอยู่ 6 ดวง ประกอบด้วย 1 โสฬส 1 อัฐ 1 เสี้ยว ซีกหนึ่ง สลึงหนึ่ง และเฟื่องหนึ่ง เริ่มนำออกใช้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 แต่ใช้อยู่ 5 ดวง คือ 1 โสฬส 1 อัฐ 1 เสี้ยว ซีกหนึ่ง และสลึงหนึ่ง ส่วนเฟื่องหนึ่งส่งมาล่าช้า กรมไปรษณีย์จึงนำมาจำหน่ายเป็นแสตมป์เพื่อการสะสมในภายหลัง
ที่มาจาก @cloudy
วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
StampShop
สนใจเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา http://stampshop.thport.com